ประโยชน์ของการฟังเพลง
การฟังเพลงถ้าฟังเพลง โดยไม่คิดอะไรวอกแวก ตั้งใจฟังมีสมาธิต้องไม่มีอารมณ์มาแทรกภายใน 2 – 3 นาที ที่เพลงบรรเลงจิตจะนิ่งขึ้น เกิดความสงบ ประโยชน์การเคลื่อนไหวร่างกายร่วมกับการฟังเพลง- บริหารสมองสร้างความสมดุลทั่วร่างกายและจิตใจ
- ฝึกการประสานงานของประสาทมองเห็น การมองเห็น การรับฟังและการเคลื่อนไหว
- เพิ่มองศาและกำลังของการเคลื่อนไหว
- ฝึกการประสานงานของประสาทมองเห็น การมองเห็น การรับฟังและการเคลื่อนไหว
- เพิ่มองศาและกำลังของการเคลื่อนไหว
การฟังเพลงที่มีท่วงทำนองที่ไพเราะ นุ่มนวล มีชีวิตชีวา สร้างสรรค์ ให้ความหมายที่ดี นอกจากเพลงที่ชอบฟังเป็นประจำแล้ว หากมีเวลาควรฟังเพลงให้ได้หลากหลายประเภท และไม่ควรฟังเพลงพร้อมกับทำงานที่ต้องใช้ความคิด อาจได้งานที่ไม่มีประสิทธิภาพพอ
ประโยชน์ของการฟังเพลง
1. ทำให้มีความสุข และเพลิดเพลิน
2. ลดความเจ็บปวด
3. มีสติความนึกคิดอารมณ์ที่ดี
4. ทำให้ผ่อนคลาย ลดความกังวล
2. ลดความเจ็บปวด
3. มีสติความนึกคิดอารมณ์ที่ดี
4. ทำให้ผ่อนคลาย ลดความกังวล
ข้อแนะนำการฟังเพลง
- จังหวะ ช้า ๆ ปานกลาง, เร็ว,กระชับ
- ทำนองเพลงไพเราะ อ่อนหวาน,สนุกมีชีวิตชีวา สดชื่น ร่าเริง แจ่มใส
- เสียงนักร้อง ระดับปานกลางชวนฟัง ทุ้ม นุ่ม ใส กังวาน ชัด
- เครื่องดนตรี ไวโอลิน กีต้าร์ เปียโน ขิม ที่เล่นด้วยมนุษย์ เสียงจะแน่น
- ทำนองเพลงไพเราะ อ่อนหวาน,สนุกมีชีวิตชีวา สดชื่น ร่าเริง แจ่มใส
- เสียงนักร้อง ระดับปานกลางชวนฟัง ทุ้ม นุ่ม ใส กังวาน ชัด
- เครื่องดนตรี ไวโอลิน กีต้าร์ เปียโน ขิม ที่เล่นด้วยมนุษย์ เสียงจะแน่น
- ผลเสีย
ผู้เชี่ยวชาญด้านโสตวิทยา เตือนฟังเพลงเสียงดังทุกวันอาจหูหนวก อาจเกิดไม่รู้ตัวเพราะกินเวลานาน
ผลการศึกษาใหม่ในสหรัฐฯเตือนว่า การฟังเพลงเสียงดังผ่านอุปกรณ์ชุดหูฟังนานเกินวันละ 90 นาที เป็นประจำอาจทำให้สูญเสียการได้ยิน
ผลการศึกษากับนักศึกษาแพทย์ 100 คน พบว่า ผู้ที่ใช้หูฟังฟังเพลงเสียงดังเกินระดับ 8 ส่วน 10 ของความดังสูงสุดนานวันละ 90 นาที เป็นประจำติดต่อกันหลายปี เสี่ยงสูญเสียการได้ยิน ส่วนผู้ที่นานๆจะฟังเพลงเสียงดังขนาดนั้นและไม่ได้ฟังติดต่อกัน รวมทั้งผู้ที่ฟังเพลงเสียงดังเพียงครึ่งหนึ่งของความดังสูงสุด นานหลายปีไม่มีความเสี่ยงดังกล่าว แต่ผู้ที่ฟังเพลงเสียงดังเต็มพิกัด ความดังสูงสุดเกิน 5 นาที ก็เสี่ยงที่จะสูญเสียการได้ยิน
นายไบรอัน ฟลิกอร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านโสตวิทยา โรงพยาบาลเด็กบอสตัน และอาจารย์คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ผู้เขียนงานวิจัยเตือนว่า ผู้ที่ใช้ชุดหูฟังฟังเพลงเสียงดังเป็นเวลานานๆ อยู่เสมอไม่รู้ตัวว่าเสี่ยงสูญเสียการได้ยิน เพราะต้องใช้เวลานานถึง 10 ปี กว่าจะปรากฏอาการ นายฟลิกอร์ยังมีงานวิจัยอีกชิ้นหนึ่งพบว่า หูฟังประเภทใส่ไว้ที่รูหูมีอันตราย ไม่ต่างจากหูฟังประเภทครอบหูหากใช้ฟังเพลงเสียงดังมากเกินไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น